เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

Week 1-2


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ :  เข้าใจและเห็นความหลากหลายของภูมิปัญญาไทยในแขนงต่างๆ
Week
input
Process
Output
Outcome





1-2

14 -16
ถึง
19 - 23
    พ.ค.
2557
โจทย์
 สร้างฉันทะ แรงบันดาลใจ/ปะทะปัญหา
Key  Questions
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู
- จากภาพแต่ละภาพนักเรียนคิดว่ามีเรื่องราวและที่มาอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู  อาทิเช่น คลิป VDO ภูมิปัญญาไทย นิทานก้อม
 เรื่อง หัวล้านชนกัน”  เพลง หมอลำอีสาน   และภาพต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- คลิป VDO ภูมิปัญญาไทย  - นิทานก้อม เรื่อง หัวล้านชนกัน
- เพลง หมอลำอีสาน
- ภาพแคน  งาไซ  กระสวย  กระติบข้าว ผีตาโขน
จันทร์
ชง : ครูเปิดคลิป VDO ภูมิปัญญาไทย ให้นักเรียนดู ซึ่งเกี่ยวกับการใช้ประสบการณ์ที่มี มาปรับใช้กับชีวิตกับชีวิตประจำวัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมพูดคุยต่อสิ่งที่ได้ดู
ชง : ครูเปิด นิทานก้อม เรื่อง หัวล้านชนกัน ฯลฯ   ให้นักเรียนฟัง
พุธ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ที่มา เรื่องราว และความเกี่ยวข้องของ นิทานก้อมกับการดำรงชีวิตของชาวอีสาน
ชง : ครูเปิดเพลง หมอลำอีสานให้นักเรียนฟัง
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนร่วมฟังเพลง และร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ ความหมาย ที่มา และความเกี่ยวข้องกับการดำรงวิต ที่ถ่ายทอดผ่านบทเพลง
พฤหัสบดี
ชง ครูนำภาพ 5 ภาพ ประกอบด้วย ภาพแคน  งาไซ  กระสวย  กระติบข้าว ผีตาโขน  ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากภาพแต่ละภาพนักเรียนคิดว่ามีเรื่องราวและที่มาอย่างไร?”
ศุกร์
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสิ่งที่ได้ดู
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
 ภาระงาน
- การนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองแนวคิด ต่อสิ่งที่ได้ดู
อาทิเช่น คลิป VDO ภูมิปัญญาไทย นิทานก้อม  เรื่อง หัวล้านชนกัน”  เพลง หมอลำอีสาน   และภาพต่างๆ


 ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
      ภูมิปัญญาของคนไทยที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ดำรงค์ชีวิตไปพร้อมกับธรรมชาติ

ทักษะ
ทักษะการจัดการข้อมูล
การคิดวิเคราะห์เรื่องที่ได้ดู  อาทิเช่น คลิป VDO ภูมิปัญญาไทย นิทานก้อม  เรื่อง หัวล้านชนกัน”  เพลง หมอลำอีสาน   และภาพต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย และถูกพัฒนามาเป็นภูมิปัญญาที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
ทักษะชีวิต
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ได้ดูกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน




                                                                                          ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้

      พี่ๆ ม.3 ร่วมกันดู นิทานก้อม http://www.youtube.com/watch?v=hw3Y6PIQpug  
   
 
ร่วมกันเล่นเกมส์ "สิ่งของใดที่สื่อความหมายของความเป็นภาคอีสาน"


ตัวอย่าง Mind Mapping (จากเกมสิ่งของใดที่สื่อความหมายของความเป็นภาคอีสาน)



ตัวอย่าง "สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์"






2 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรู้สำหรับพี่ๆ ม.3 ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ จะอยู่ในรูปแบบของการสร้างแรง โดยเริ่มต้นด้วยคุณครูได้ให้พี่ ม.3 ได้ร่วมกันดู นิทานก้อม ฟังเพลง และวิเคราะห์เบื้องหลังของรูปภาพต่างๆที่ได้ดู รวมถึงเล่นเกม นำเสนอสิ่งของภายใต้โจทย์คำถามต่างๆ อาทิเช่น สิ่งของใดที่สื่อความหมายของความเป็นภาคอีสาน ? ซึ่ง แต่ละกิจกรรมได้ช่วยให้นักเรียนเรียนแต่ละคน สะท้อนความคิดและความรู้สึกของตนเองได้อย่างหลากหลาย เช่น หลังจากที่เขาได้ดูนิทานก้อมจบลง คุณครูถามเขาว่า พี่รู้สึกอย่างไรในขณะที่ดู และ พี่คิดว่านิทานก้อมเกิดขึ้นได้อย่างไร หลายคนร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น พี่บีม(อ) “หนูคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่คนแก่สมัยก่อนเขาเล่าให้กันฟังเวลามาเจอกันคะ” พี่โอ๊ต “เวลาผมได้ยินเสียงแคน จะนึกถึงคนอีสานแท้ๆ ที่อยู่ตามทุ่งนาธรรมดา ทำนา ปลูกข้าว ครับ” และในช่วงที่คุณครูได้นำพี่ๆเล่นเกม (สิ่งของใดที่สื่อความหมายของความเป็นภาคอีสาน) แต่ละคนจะนึกถึงสิ่งของที่ไม่ซ้ำกันเลยสักชิ้น และทุกๆชิ้นที่เอยชื่อขึ้นนั้น มีความสัมพันธ์กับแต่ละคนเสมอ เช่น พี่พลอย “หนูนึกถึงผ้าขาวม้าค่ะ เพราะว่าเห็นแล้วจะคิดถึงตาแก่ๆ ที่ชอบไปวัด ใส่เสื้อผ้าสีขาว มีผ้าขาวม้าพาดบ่า” จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆแต่ละคนบันทึกรายชื่อสิ่งของๆเพื่อนแต่ละคนที่นำเสนอ และนำไปเขียน Mind Mapping เพื่อเชื่อมโยงสิ่งของเหล่านั้นกับประสบการณ์หรือสิ่งต่างๆที่แต่ละคนคิดว่ามีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน ปิดท้ายสัปดาห์นี้ด้วยเสียงเพลงเพราะ โดยคุณครูได้เปิดเพลง ”แคนฮ่างนางฟ้า” ให้พี่ๆฟัง แต่ละคนร้องได้ติดปาก และยังขอครูเล่นกีต้าร์พร้อมร้องเพลงนี้ร่วมกันทั้งห้องอีกด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  2. เพลง ”แคนฮ่างนางฟ้า” http://www.youtube.com/watch?v=EPwHAA8Wp5I
    นิทานก่อม http://www.youtube.com/watch?v=hw3Y6PIQpug

    ตอบลบ