เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

Week 3


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ :  เข้าใจกระบวนการเรียนรู้และสามารถออกแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาได้
Week
input
Process
Output
Outcome




3

26 – 30
พ.ค.
 2557


โจทย์
ออกแบบกระบวนการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อโครงงาน
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- กระดาษชาร์ต
- คลิป VDO “กู๊แคน” “วัยรุ่น หมอลำกลอน
- บทความเรื่อง ภูมิปัญญาผู้เฒ่าที่หายไป
จันทร์
ชง : ครูเปิดคลิป VDO “กู๊แคน” “วัยรุ่น หมอลำกลอน ให้นักเรียน ซึ่งเกี่ยวกับ กลุ่มนักศึกษา ม.ขอนแก่น รวมตัวเพื่อสร้างผลงานในรูปแบบ บทเพลงหมอลำ เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวอีสาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมวิเคราะห์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จาสิ่งที่ได้ดู
พุธ
- ครูแจกบทความเรื่อง ภูมิปัญญาผู้เฒ่าที่หายไป ให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมอ่าน
- นักเรียนแต่ละคนอ่านบทความ และวิเคราะห์สิ่งที่ได้อ่าน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม :ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น (Card & Chart)
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษา
พฤหัสบดี
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากรู้
( Think Pair Share )
ชง :ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหัวข้อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม :นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย โดยใช้วิธีการ Blackboard  Share
ศุกร์
ใช้ : นักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษชาร์ต และเขียนสรุปองค์ความรู้ ก่อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Mind  Mapping
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
 - การวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและความคิดเห็นที่ได้ฟังและอ่าน
- การตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน
- การวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- การออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-  การสรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- หัวข้อโครงงาน
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
  - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
อธิบายและปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ในการทำงานกลุ่มรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น

ทักษะ
ทักษะชีวิต
-การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
เกี่ยวกับการตั้งชื่อโครงงานและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ต่างๆ



ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้






พี่ๆแต่ละคน ได้อ่านและวิเคราะห์ บทความ “ภูมิปัญญาผู้เฒ่าที่หายไป ” 


พี่แต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาด้านภูมิปัญญา




พี่ๆร่วมกันตั้งชื่อ Topic PBL. ในภาคเรียนนี้ พร้อมออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 20  สัปดาห์ 


พี่ๆ ม.3 จับฉลากแบ่งกลุ่ม เพื่อเขียนงานที่ได้ ลงในแผนชาร์ต



พี่แต่ละคนได้ออกแบบ Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้



ตัวอย่างชิ้นงาน


   บันทึกสะท้อน  สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่ต้องการเรียนเรียนรู้ เกี่ยวกับภูมิปัญญา


ตัวอย่าง  Mind Mapping ก่อนเรียน (นักเรียน)



ตัวอย่างสรุปสัปดาห์


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์การเรียนรู้ที่ 2 นี้ เป็นขั้นตอนของการตกตะกอนความอยากรู้ของพี่ๆ ม. 3 หลังจากผ่านกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจจากกระบวนการต่างๆของคุณครู อาทิเช่น การดูนิทานก้อม การนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาพต่างๆรวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งพี่ทั้งห้องพอที่จะเดาออกว่าจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญา จึงทำให้ง่ายต่อการดำกิจกรรมอื่นต่อไป ส่งผลให้สัปดาห์นี้ เป็นการเริ่มต้นด้วยการออ่านบทความ “ภูมิปัญญาผู้เฒ่าที่หายไป” ซึ่งหลังจากอ่านจบ ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และในมุมมองเดียวกันที่ร่วมแสดงความคิดเห็น คือ สังคมปัจจุบันทำให้ ความเชื่อ ความคิด การดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป จากนั้น คุณครูได้ตั้งคำถามๆพี่ๆ ว่า พี่แต่ละคนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญา จากนั้นก็ได้แจกกระดาษแผ่นเล็กให้กับพี่ๆแต่ละคน ได้เขียนแสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละเยอะมาก อาทิเช่น อยากเรียนเกี่ยวกับเรื่อง การใช้ชีวิตของคนสมัยก่อน การทอผ้า การปั้นหม้อดิน การสร้างเครื่องมือจับปลา หลังจากนั้น คุณครูได้ขออาสาจากพี่ม.3 มาช่วยจัดหมวดหมู่สิ่งที่เขียนให้เป็นหมวดหมู่ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวิถีชีวิต กิจกรรมดำเนินต่อพี่ๆม.3 แต่ละคนได้เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ลงในกระดาษ A4 และในวันต่อมา เป็นกิจกรรม พี่ๆม.3ได้ร่วมกันออกแบปฏิทินการเรียนรู้ และตั้งชื่อTopic ซึ่งได้มาจากการนำเสนอและร่วมโหวตจากทุกๆเสียงในห้องเรียน และชื่อที่ได้มาก็คือ "wisdom timeline ร่องรอยแห่งชีวิต " จากที่ได้รูปแบบกิจกรรมในตลอด 20 สัปดาห์แล้ว คุณครูได้ให้พี่ๆจับฉลากแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้กลุ่มละ 4 คน โดยได้ให้แต่ละกลุ่ม ช่วยกันขมวดสิ่งที่ได้ร่วมกันคิด พร้อมเขียนลงในกระดาษชาร์ต ส่งท้ายกิจกรรมสัปดาห์นี้ด้วยกิจกรรมการเขียน Mind mapping ก่อนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญของคุณครู เพื่อทราบได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้เรื่องอะไรมาบ้างแล้ว

    ตอบลบ