เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

Week 4-5

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ผ่านแนวคิดตามความเข้าใจของตนเองในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลายได้
Week
input
Process
Output
Outcome




4 - 5


2– 6
และ
9-13
  มิ.ย. 2557
โจทย์
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
Key  Questions
- หากพูดถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน นักเรียนนึกถึงอะไร
- นักเรียนคิดว่า กระบวนการเรียนรู้ในการทำงานกลุ่มเพื่อแก้ไข้ปัญหา ที่เกิดขึ้นภายในการทำงานร่วมกัน คืออะไร
- นักเรียนคิดว่า สิ่งที่ได้จากการทำงานกลุ่มและสร้างชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานของแต่ละกลุ่มคืออะไร

เครื่องมือคิด
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- โปรแกรมตัดต่อ Vegus
- สถานที่รอบๆโรงเรียน
- อุปกรณ์ประกอบฉาก อาทิเช่น กล้องถ่ายภาพ กีตาร์  เสื้อผ้า  แคน ฯลฯ
จันทร์
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และปฏิทินการเรียนรู้ที่ร่วมกันออกแบบในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด หากพูดถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน นักเรียนนึกถึงอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ครูให้นักเรียนแต่ละคนจับฉลากแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม พร้อมทั้งจับฉลาก เลือกเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานที่จะต้องศึกษา โดยได้มาจากการร่วมแสดงความคิดเห็นจากคำถามที่ครูถาม ข้างต้น อาทิเช่น นิทานก้อม นิทานพื้นบ้าน  เพลงพื้นบ้าน หมอลำ
พุธ
นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล และวางแผนสร้างชิ้นงาน จากแนวคิดของกลุ่มตนเองที่มีต่อคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ รูปแบบ การถ่ายทอดแนวความคิดของกลุ่มตนเอง และการแบ่งบทบาทหน้าที่ของเพื่อนในกลุ่ม
พฤหัสบดี
- ครูและนักเรียนร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการผลิตชิ้นงานต่างๆ อาทิเช่น การนำเสนอโดยการ ถ่ายทำ MV การแต่งเนื้อหมอลำกลอน  ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้างชิ้นงาน ตามเรื่องที่ได้ร่วมกันศึกษา
ศุกร์
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่ม
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า กระบวนการเรียนรู้ในการทำงานกลุ่มเพื่อแก้ไข้ปัญหา ที่เกิดขึ้นภายในการทำงานร่วมกัน คืออะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและเพื่อนๆร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมร่วมแนะนำกระบวนการแก้ไขปัญญาหาในรูปแบบต่างๆ
จันทร์-พุธ
- นักเรียนแต่ละกลุ่ม ดำเนินงานต่อ โดยการนำข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา ไปร่วมปรับแก้ในชิ้นงานของตนเอง
พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานและผลงานของตนเอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า สิ่งที่ได้จากการทำงานกลุ่มและสร้างชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานของแต่ละกลุ่มคืออะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ศุกร์
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ใช้ :นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
 - สืบค้นข้อมูล และวางแผนสร้างชิ้นงาน จากแนวคิดของกลุ่มตนเองที่มีต่อคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- นำเสนอ รูปแบบ การถ่ายทอดแนวความคิดของกลุ่มตนเอง และการแบ่งบทบาทหน้าที่ของเพื่อนในกลุ่ม
 - ร่วมกันสร้างชิ้นงาน ตามเรื่องที่ได้ร่วมกันศึกษา
- รายงานความคืบหน้าของงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่ม
- กลุ่ม ดำเนินงานต่อ โดยการนำข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา ไปร่วมปรับแก้ในชิ้นงานของตนเอง
- นำเสนอชิ้นงานและผลงานของตนเอง
ชิ้นงาน
(ตามรูปแบบที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ)
 - กลุ่มที่ 1 คลิป VDO  สั้น นิทานก้อม
- กลุ่มที่  2 หนังสือนิทานพื้นบ้าน
- กลุ่มที่ 3 บทเพลง เนื้อร้อง และ MV ประกอบบทเพลงพื้นบ้าน
- กลุ่มที่ 4  คลิปวีดีโดนำเสนอ หมอลำกลอน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ความรู้
สามารถอธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ผ่านแนวคิดตามความเข้าใจของตนเองในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่มเพื่อออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น นิทานก้อม  เนื้อหากลอนหมอลำ  MV ประกอบบทเพลง นิทานพื้นบ้าน ฯลฯ

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้










ตัวอย่างชิ้นงาน


ถ่ายทอดเรื่องราว ผ่านรายการ "Wisdom timeline ร่องรอยแห่งชีวิต"



นำเสนอในรูปแบบ MV เพลง

   

                               นำเสนอในรูปแบบ "นิทานก้อม"

       

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้ พี่ๆ ม.3 ได้จับฉลากแบ่งหัวข้อมูลเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน พร้อรูปแบบการนำเสนอของแต่ละกลุ่มและนำเสนอ ดังนี้
    กลุ่มที่ 1 พี่แพรว พี่เฟิร์น พี่พลอย พี่ฟิล์ม (เพลงพื้นบ้าน)
    กลุ่มที่ 2 พี่บีมชุ พี่แนน พี่หมวย พี่กัน (นิทานพื้นบ้าน)
    กลุ่มที่ 3 พี่ฟ้าวิ พี่ฟ้าวรรณ พี่โอม พี่เติ้ล (แต่งเพลง)
    กลุ่มที่ 4พี่โอ๊ต พี่กั๊ พี่บีมอ พี่กาย (นิทานก้อม)
    พี่ๆแต่ละกลุ่ม ร่วมวางแผน ในการสืบค้น เตรียมเค้าโครงเรื่อง เพื่อร่วมกันนำเสนอและอภิปราย ซึ่งในช่วงระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น แต่ละกลุ่ม ก็เกิดปัญหา คุณครูและพี่ๆ ม.3 ก็ได้มีการร่วมพูดคุยและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิเช่น ปัญหาของกลุ่ม นิทานก้อม คือ เมื่อถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงขั้นตอนการตัดต่อ แต่ไฟล์งานกลับหัว ทำให้คลิป วีดีโอที่ถ่ายมานั้นกลับหัวทั้งหมด ซึ่ง พี่กั๊ก 1 ในสมาชิกกลุ่มนี้ ได้เล่าบอกให้เพื่อนๆฟังว่า ตนเองได้ลองศึกษาข้อมูลผ่าน youtube และเว็บไซต์ต่างๆ จนสามารถแก้ไขได้แล้ว นอกจากนั้น กลุ่มแต่งเพลลงพื้นบ้าน ก็ได้เล่าให้เพื่อนฟังว่า สมาชิกของกลุ่มตนเองแต่ละคน ไม่มีใครแกะคอร์ดเพลงเป็นเลย แต่ก็ได้ทดลองทำดู และสามารถทำได้ โดยพี่ไตเติ้ลบอกว่านี้เป็นครั้งแลกในชีวิตผมที่ได้แกะคอร์ดเพลง และนอกจากนี้ พี่ๆ กลุ่มนี้ ได้บอกกับคุณครูว่าต้องการนำเพลงที่แต่ง ไปถ่ายทำเป็น MV เพื่อการนำเสนอในรูปแบๆใหม่ ซึ่งพวกเข้าก็สามารถถ่ายทำและตัดต่อได้จนสำเร็จค่ะ อีกกลุ่มที่เกิดปัญหาไม่แพ้เพื่อนๆเลยคือ กลุ่ม ถ่ายทำเพลงพื้นบ้าน ที่ตอนแรก มีแนวคิดว่าจะแต่งออกมาเป็นฉ่อย จนกระทั่งดำเนินการไปได้เกือบแล้วเสร็จ ก็เพิ่งมาพบว่า การร้องฉ่อยยังไม่ใช่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน แต่เป็นของภาคกลาง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง การนำเสนอในรูปแบบ หมอลำกลอน ซึ่งก็มีความยากในตัว เนื่องจากเนื้อกลอนที่ต้องแต่งใหม่ และวิธีร้องที่ต้องใช้ลูกคอเอื้อน (งานนี้พี่เฟิร์นถึงกับ ต้องเอาเนื้อร้องที่แต่งไปให้คุณยายที่บ้านร้องให้ฟัง) แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะ คุณยายบอกว่า ร้องเป็นแต่ (หมอลำซิ่งค่ะ) ทำให้พวกเขากลุ่มนี้ต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยการดูคลิปการร้อง ใน Youtube ค่ะ แต่แล้วพวกเขากลุ่มนี้ ก็ทำสำเร็จ (ถึงแม้ฟังแล้วจะดูแปลกๆหน่อยนะคะ) ทุกๆกลุ่มได้นำสิ่งที่ตนเองร่วมกันทำ มานำเสนอและถ่ายถอดประสบการณ์ดีๆให้เพื่อนร่วมห้องฟังค่ะ นอกจากนี้ พี่ๆ ม.3 และคุณครูยังมีไอเดีย ในการทำรายการเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ได้ร่วมกันเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ (แบ่งเป็นตอนๆ) ภายใต้ชื่อรายการ “Wisdom Timeline ร่องรอยแห่งชีวิต” โดยพี่ๆ ม.3 ที่อาสามาดำเนินการในตอนแรกนี้ คือ พี่ฟ้า วรรณ พี่ ฟ้า วิ พี่บีม อ (สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของพวกเข้าได้ในเพจเฟสบุ๊ค “ประกายมาศ LPMP”

    ตอบลบ