เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

Week 6-7


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายภูมิปัญญาประเพณีและวัฒนธรรม ผ่านแนวคิดตามความเข้าใจของตนเองในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลายได้
Week
input
Process
Output
Outcome




6 - 7


16 – 20
และ
23 -27
  มิ.ย. 2557

โจทย์
ภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรม
Key  Questions
- ประเพณีที่เกิดขึ้นมาช้านานและปัจจุบันยังคงดำรงอยู่นั้น มีประเพณีอะไรบ้างและแต่ละประเพณีมีรูปแบบการแสดงออกและสัมพันธ์กับชีวิตของคนเราอย่างไร
- รูปแบบการนำเสนอประเพณีวัฒนธรรมที่ตนเองสืบค้น ให้น่าสนใจได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- แผ่นไม้อัด
- เทียนไข
- Program power point
จันทร์
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับ ประเพณีที่น่าสนใจของแต่ละภาคแต่ละจังหวัดที่น่าสนใจและสืบค้นข้อมูลมาในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา  
- นักเรียนแต่ละคนเล่าประสบการณ์และประเพณีที่ตนเองได้สืบค้นข้อมูลในเพื่อนและคุณครูฟัง
พุธ-พฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่า ประเพณีที่เกิดขึ้นมาช้านานและปัจจุบันยังคงดำรงอยู่นั้น มีประเพณีอะไรบ้างและแต่ละประเพณีมีรูปแบบการแสดงออกและสัมพันธ์กับชีวิตของคนเราอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น  พร้อมกับเสนอหัวข้อประเพณีที่แต่ละคนต้องการศึกษาอย่างแท้จริง
- นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา เพื่อเตรียมนำเสนอ
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะมีรูปแบบการนำเสนอประเพณีวัฒนธรรมที่ตนเองสืบค้น ให้น่าสนใจได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอรูปแบบการนำเสนอของตนเอง อาทิเช่น การแกะเทียน(แห่เทียนพรรษา) , ภาพนูนสามมิติจากหัวตะปู , Power point , หน้ากาก (ผีตาโขน ) ฯลฯ
จันทร์
- นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่ละคน
พุธ-พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอข้อมูล ตามรูปแบบที่ออกแบบ
- ครูและเพื่อนร่วมตั้งคำถามและแนะนำข้อมูลภายหลังการนำเสนอ
ศุกร์
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ใช้ :นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
 - สืบค้นข้อมูล และวางแผนสร้างชิ้นงาน จากแนวคิดของตนเองที่มีต่อคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
- นำเสนอรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
- สร้างชิ้นงาน ตามเรื่องที่ได้ศึกษา
- รายงานความคืบหน้าของงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบ พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่คน
- ดำเนินงานต่อ โดยการนำข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา ไปร่วมปรับแก้ในชิ้นงานของตนเอง
- นำเสนอชิ้นงานและผลงานของตนเอง
ชิ้นงาน
(ตามรูปแบบที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ)
 - การแกะสลักเทียน  การทำหน้ากาก , ภาพนูนสามมิติจากหัวตะปู , Power point
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
สามารถอธิบายภูมิปัญญาด้านประเพณีวัฒนธรรมตามความเข้าใจของตนเองในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานเพื่อออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรมในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรม
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแนวความคิดของตนเองตามความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรมในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น  การแกะสลักเทียน  การทำหน้ากากภาพนูนสามมิติจากหัวตะปู , Power point ,

คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้


ตัวอย่างชิ้นงาน




ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    ในสัปดาห์นี้พี่ๆ ม.3 ได้ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการนำประเพณีและวัฒนธรรมที่แต่ละคนรู้จัก และเคยมีประสบการณ์มาเล่าให้เพื่อนและคุณครู ฟังซึ่งก็หลากหลายค่ะ เช่น บุญบั้งไฟ ลอยกระทง บุญผะเหวด แห่เทียนพรรษา ส่วนใหญ่จะเล่าว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และเกิดขึ้นในช่วงไหน จากนั้นคุณครูได้ให้พี่ๆ เลือกหัวข้อประเพณีและวัฒนธรรมที่ตนเองสนใจและต้องการศึกษาอย่างแท้ จริง คนละ 1 ประเพณี พร้อมทั้ง รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ ตามแนวความคิดของตนเอง ซึ่งแต่ละคนได้เสนอหัวข้อประเพณีที่หลากหลายน่าสนใจ และไม่ซ้ำกัน อาทิเช่น พี่หมวย (ฮีต 12 คอง 14) พี่ฟ้า วรรณ (วิ่งควาย) พี่เฟิร์น (บุญเบิกฟ้า) ฯลฯ ต่อจากนั้นคุณครูได้ถามพี่ๆ เกี่ยวกับ “พี่ๆมีรูปแบบการนำเสนอประเพณีวัฒนธรรมที่ตนเองสืบค้น ให้น่าสนใจได้อย่างไร?” ซึ่งก็หลากหลายและสร้างสรรค์เช่นกันค่ะ อย่างเช่น พี่ฟิล์ม ศึกษาเกี่ยวกับพี่ตาโขน ก็จะทำออกมาในรูปแบบหน้ากาก พี่ฟ้าวิ พี่ฟ้าวรรณ พี่เฟิร์น จะนำเสนออกมาในรูปแบบ เส้นด้ายสามมิติ โดยใช้ตะปูดอกเล็กกับกับแผนไม้อัด พี่กั๊ก พี่โอม จะขอนำเสนออกมาในรูปแบบ ของงานตัดต่อ และ พี่บีม อ ขอนำเสนอในรูปแบบการแกะสลักเทียนเนื่องจากศึกษาเกี่ยวกับประเพณีแห่เทียนของชาวอุบล นอกเหนือจากนั้นก็เป็นช่วงเวลา ในการศึกษาขัอมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ มาปรับใช้ในรูปแบบชิ้นงานที่แต่ละคนสนใจ และร่วมกันนำเสนอ โดยขณะที่แต่ละคนนำเสนอ พี่ๆ ส่วนที่เหลือก็ได้ร่วมจดบันทึกข้อมูลสำคัญ รวมถึงตั้งคำถามต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ และในสัปดาห์นี้ พี่โอม และพี่กั๊ก ได้อาสาของถ่ายทำรายการ Wisdom Timeline “ร่องรอยแห่งชีวิต” ซึ่งเป็นตอนที่ 2 ”ภูมปัญญาประเพณีและวัฒนธรรม “ ต่อจากสัปดาห์หัวข้อที่แล้ว และสามารถให้ผู้ที่สนใจติดตามได้ผ่านหน้าเพจเฟสบุ๊คhttps://www.facebook.com/PrakayMatLpmp?ref=hl&ref_type=bookmark

    ตอบลบ