เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วยภูมิปัญญา
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและ เห็นคุณค่าของการนำภูมิปัญญาดังเดิมมาพัฒนาต่อพร้อมทั้งปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

Week 8-9

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายอิทธิพลและวัฒนธรรมการแต่งกายในแต่ละภาคของประเทศไทย รวมถึงออกแบบโมเดลเสื้อผ้าตามจินตนาการของตนเองได้

Week
input
Process
Output
Outcome




8 – 9

30 มิ.ย.– 11 ก.ค. 2557

โจทย์
ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแต่งกาย
Key  Questions
-  นักเรียนคิดว่าการแต่งกายในอีก 10 ปี 20 ปี และ 50 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าการแต่งกายของแต่ละภาคในประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์อย่างไรและได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือรับอิทธิผลมาจากด้านใด

- นักเรียนคิดว่าถ้าหาต้องการออกแบบชุดให้กับตนเอง นักเรียนจะมีแนวคิดในการออกแบบชุดนี้อย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
-  นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับอิทธิพลและการเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของคนไทยในแต่ละภาคและแต่ละยุคสมัย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นและร่วมพูดคุย
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบชุดเพื่อสร้างเป็นโมเดลชุดตามความคิดของตนเอง

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้

นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปการณ์ตัดเย็บสร้างโมเดลชุด

จันทร์
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านประเพณีและวัฒนธรรม
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าการแต่งกายในอีก 10 ปี 20 ปี และ 50 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษ A4 ในนักเรียนคนละ 1 แผ่น
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบการแต่งกายในความคิดของตนเองลงในกระดาษ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอแนวคิดด้านการแต่งกายของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง
พุธ-พฤหัสบดี
- ครูเล่าเรื่อง การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 5 ” ให้นักเรียนฟัง ซึ่งเกี่ยวกับ การเริ่มใส่เสื้อผ้าที่เปลี่ยนไป การเริ่มสวมรองเท้าเป็นช่วงแรกๆ  และ การขับรถยนต์คันแรกของประเทศไทย
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าการแต่งกายของแต่ละภาคในประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์อย่างไรและได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือรับอิทธิผลมาจากด้านใด?”
เชื่อม : นักเรียนจับสลากแบ่งกลุ่มและเลือกศึกษาการแต่งกายของแต่ละภาคที่ต้องการศึกษา
ศุกร์
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมบันทึกในแผ่นชาร์ตเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างด้านการแต่งกายของแต่ละภาค  อิทธิพลและการเปลี่ยนแปลงของการ
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าถ้าหาต้องการออกแบบชุดให้กับตนเอง นักเรียนจะมีแนวคิดในการออกแบบชุดนี้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษขนาด ครึ่ง A4 ให้กับนักเรียนคนละ 1 แผ่น 
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโมเดลชุดของตนเองลงในกระดาษ
พุธ-พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละคนเตรียม เศษผ้า และอุปกรณ์ตัดเย็บ เพื่อนำมาตัดโมเดลชุดที่ได้ออกแบบ (แต่ละชุด มีความสูงประมาณ 30 cm.)
- นักเรียนแต่ละคนลงมือตัดเย็บชุดของตนเอง ตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้
ศุกร์
 - นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชุดของตนเองที่ตัดเย็บ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์แต่งกายในแต่ละช่วงเวลา
ภาระงาน
- ออกแบบการแต่งกายในความคิดของตนเองลงในกระดาษ
- นำเสนอแนวคิดด้านการแต่งกายของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง
- จับสลากแบ่งกลุ่มและเลือกศึกษาการแต่งกายของแต่ละภาคที่ต้องการศึกษา
- สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมบันทึกในแผ่นชาร์ตเพื่อนำเสนอข้อมูล
- ออกแบบโมเดลชุดของตนเองลงในกระดาษ
- ตัดเย็บชุดของตนเอง ตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้
- นำเสนอชุดของตนเองที่ตัดเย็บ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ภาพวาดแบบชุดในแต่ละช่วงเวลา10 ปี 20 ปี และ 50 ปี ข้างหน้า
- ชาร์ตนำเสนอข้อมูล การแต่งกายของแต่ละภาคในประเทศไทย
- ภาพวาดชุดโมเดล
- ชุดโมเดล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถอธิบายอิทธิพลและวัฒนธรรมการแต่งกายในแต่ละภาคของประเทศไทย รวมถึงออกแบบโมเดลเสื้อผ้าตามจินตนาการของตนเองได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานเพื่อออกแบบการแต่งกายตามแนวความคิดของตนเองในรูปแบบที่หลากหลายได้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
การคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญซึ่งได้จากการสืบค้นเพื่อใช้ในการนำเสนอ ที่มีคุณภาพ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชุดโมเดล ในรูปแบบต่างๆ ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคนได้ทำงานร่วมกันและแสดงทัศนะคติร่วมกันเกี่ยวกับอิทธิพลและวัฒนธรรมการแต่งกายในแต่ละภาคของประเทศไทย
คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้




ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านการแต่งกาย โดยกิจกรรมการเรียนรู้มีหลากหลาย เริ่มต้นจากคุณครู ถามพี่ๆม.3ว่า “พี่ๆคิดว่าการแต่งกายในอีก 10 ปี 20 ปี และ 50 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร? พี่แต่ละคนออกแบบการแต่งกายในความคิดของตนเองลงในกระดาษและนำมานำเสนอร่วมกัน ซึ่งหลากหลาย ส่วนใหญ่คิดว่า การแต่งกายในช่วง 20 ปี และอีก 50 ปีข้างหน้า จะนุ่งน้อยห่มน้อยลงเรื่อยๆ จากนั้นคุณครูได้เล่าครูเล่าเรื่อง “การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 5 ” ให้พี่ๆฟัง ซึ่งเกี่ยวกับ การเริ่มใส่เสื้อผ้าที่เปลี่ยนไป การเริ่มสวมรองเท้าเป็นช่วงแรกๆ และ การขับรถยนต์ขับรถยนต์คันแรกของประเทศไทย หลังจากฟังเรื่องเล่าจบลงแล้ว คุณครูได้ถามพี่ๆ ต่ออีกว่า “พี่ๆคิดว่าการแต่งกายของแต่ละภาคในประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์อย่างไรและได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือรับอิทธิผลมาจากด้านใด?” จากคำถามนี้ส่งผลให้พี่ๆต้องได้ศึกษาข้อมูลต่อ โดยได้มีการจับสลากแบ่งกลุ่มและเลือกศึกษาการแต่งกายของแต่ละภาคที่ต้องการศึกษา โดยแบ่งเป็น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน พี่ๆแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมบันทึกในแผ่นชาร์ตเพื่อนำเสนอข้อมูล หลังจากการนำเสนอเรียบร้อย คุณครูและพี่ๆได้ร่วมพูดคุยกันเกี่ยวกับความแตกต่างด้านการแต่งกายของแต่ละภาค อิทธิพลและการเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายในแต่ละช่วงเวลา โดยกลุ่มภาคใต้เล่าให้ฟังว่า เสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ได้รับอิทธิพลมาจาก ฝั่งมาลายูและประเทศจีน ซึ่งเข้ามาจากการแต่งงานกันระหว่างกลุ่มคนและความต้องการรักษารูปแบบการแต่งกายของคนจีนไว้ โดยจะมีรูปแบบออกไปทางจีนผสมด้วย ด้าน พี่บีม อ และพี่ฟ้าวรรณ เล่าให้เพื่อนๆฟังว่า ตนเองสามารถดูออกว่า ผ้าไหม ซึ่งเป็นผ้าประจำการแต่งกายของคนภาคอีสาน มีลักษณะเป็นอย่างไร (แท้หรือเทียม) ซึ่งสมัยนี้ราคาสูง และพ่อแม่บ้านไหน หามีลูกสาวก็จะเก็บผ้าถุงไหมไว้ให้ในตอนโตเป็นสาว และหากมีลูกชาย ก็จะเก็บผ้าสโลงไว้ให้เมื่อตอนเป็นหนุ่ม ซึ่งคนอีสานจะทำในรูปแบบนี้เกือบทุกๆบ้าน
    ต่อจากนั้น คุณครูได้ให้พี่ๆลองออกแบบชุด เพื่อสร้างเป็นโมเดลชุด ตามสไตล์ของแต่ละคน และนำเศษผ้ามาตัดเย็บเอง โดยมีความสูงของชุด ประมาณ 30 cm. จากกิจกรรมนี้ พี่ ม.3 แต่ละคนได้ออกแบบชุดที่แตกต่างกัน และแต่ละคนก็มีเหตุผลที่ใช้อธิบายชุดของตนเองได้ อาทิเช่น พี่แนน เป็นชุดชาวนา เรียบงาน โดยบอกว่า ใกล้ตัว แล้วใช้ได้จริงในชีวิตจริง สำหรับ พี่ ฟ้า วิ ก็มีการออกแบบชุดโมเดล ในรูปแบบ ร่วมสมัย แต่จะออกไปแนวเรียบง่าย หรู มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ส่วน พี่กัน ตัดเย็บชุดของหญิงเวียดนาม ซึ่งเล่าให้ฟังว่า เข้ากับเรื่องที่ตนเองศึกษามาค่ะ สิ้นสุดกิจกรรในสัปดาห์นี้ด้วยการนำเสนอชุดของพี่ๆแต่ละคนและตามด้วยสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ